โครงสร้างองค์กร

หน่วยงานภายในของสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล มี 5 ฝ่าย ดังนี้

 

1. ฝ่ายกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรและการบริหารทรัพยากรบุคคล  มีหน้าที่รับผิดชอบงานดังต่อไปนี้ 

1. งานนโยบายและกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล

1.1 นโยบายและมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล

1.2 กลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล

1.3 Communication & Change Management

1.4 Compliance & Risk ภายในสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล

1.5 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนงบประมาณของสำนักงาน

1.6 งานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลของสภากาชาดไทย และคณะกรรมการกำกับและพัฒนาระบบการบริหาร

2. งานพัฒนาระบบทรัพยากรบุคคล

2.1 พัฒนาและปรับปรุงระบบทรัพยากรบุคคล

2.2 จัดทำหรือทบทวนระบบการประเมินผลพนักงานและองค์กร

2.3 จัดทำหรือทบทวนโครงสร้างค่าตอบแทน

2.4 กำหนดเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่ง

2.5 บริหารบุคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent)

2.6 ออกแบบเส้นทางสายอาชีพ

2.7 กำหนดเกณฑ์การหมุนเวียนตำแหน่งงาน

3. งานพัฒนาองค์กร

3.1 วางแผนพัฒนาองค์กร

3.2 พัฒนาโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และกระบวนการ

3.3 วิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลัง

3.4 ออกแบบและขับเคลื่อนวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร

3.5 บริหารจัดการองค์ความรู้

4. งานบริหารโครงการ 

2. ฝ่ายพัฒนาศักยภาพบุคลากร  มีหน้าที่รับผิดชอบงานดังต่อไปนี้

1. งานกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

1.1 กลยุทธการพัฒนาบุคลากรของสภากาชาดไทย

1.2 วางแผนแม่บทการพัฒนา

1.3 ประเมินผลการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่มภารกิจ

1.4 รวบรวมผลงานวิชาการเพื่อส่งให้คณะกรรมการประเมิน

2. งานศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ

2.1 จัดอบรมสำหรับทักษะที่ใช้ร่วมกันทุกกลุ่มภารกิจ

2.2 พัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์

2.3 ดูแลระบบการสอนแบบออนไลน์ (LMS)

2.4 จัดหาและติดต่อครูผู้สอนหรือบริษัทตัวแทนที่ให้ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน

2.5 จัดสรรทุนการศึกษาสำหรับบุคลากร และตรวจสอบการลาศึกษา/ขยายลาศึกษา

3. งานบริหารระบบสืบทอดตำแหน่ง

3.1 ออกแบบระบบการพัฒนาบุคลากรและการสืบทอดตำแหน่ง

3.2 บริหารจัดการการเลื่อนระดับและเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งของผู้มีศักยภาพสูงและผู้สืบทอดตำแหน่ง

3.3 บริหารการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและผู้สืบทอดตำแหน่งตามแผนที่กำหนด

3. ฝ่ายเทคโนโลยีด้านการบริหารบุคลากร  มีหน้าที่รับผิดชอบงานดังต่อไปนี้

1. งานบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรบุคคล

1.1 จัดทำคลังข้อมูลพนักงาน เช่น การบันทึกและเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติและข้อมูลของบุคลากร และจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลพนักงาน (Employee Master Data)

1.2 จัดทำคำสั่งต่าง ๆ เช่น คำสั่งบรรจุ คำสั่งย้ายภายในหน่วยงาน การพ้นสภาพ

1.3 ดูแลระบบที่ให้บริการแก่พนักงาน

2. งานวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรบุคคล

2.1 วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ถึงพฤติกรรมล่วงหน้า (Predictive Analysis)

2.2 นำข้อมูลทำรายงานนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อการปรับปรุงหรือป้องกันล่วงหน้า (Preventive Solution)

2.3 งานข้อมูล Salary Survey

3. งานบริหารค่าตอบแทน

3.1 จ่ายค่าตอบแทน**

3.2 ดูแลระบบจ่ายค่าตอบแทน**

3.3 จ่ายบำนาญบุคลากรเกษียณอายุ

4. งานการเงิน บัญชี งบประมาณ และพัสดุ

4. ฝ่ายบริการระบบทรัพยากรบุคลากร  มีหน้าที่รับผิดชอบงานดังต่อไปนี้

1. งานสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูง

1.1 กลยุทธ์การสรรหาและกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก

1.2 สรรหาระดับ ผอ.ขึ้นไป

1.3 สรรหาระดับพนักงาน*

1.4 การสรรหาแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรใช้ทุน

1.5 ประเมินและตรวจสอบคุณภาพการสรรหา

1.6 ประเมินผลทดลองปฏิบัติงาน

1.7 การโอนย้ายพยาบาลประจำปี

1.8 การบรรจุพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

1.9 การโอนบุคลากรระหว่างหน่วยงาน

1.10 การจ้างบุคลากรชั่วคราวประจำปี

2. งานบริหารสวัสดิการและประสบการณ์บุคลากร

2.1 บริหารการให้สวัสดิการ

2.2 จัดกิจกรรมบุคลากรสัมพันธ์และพิธีการเกี่ยวกับบุคลากรรวม

2.3 บริหารการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Engagement Survey)

2.4 รับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานและประสานงานกับฝ่ายบริหาร

3. งานบริหารงานทั่วไป

3.1 ดำเนินงานธุรการทั่วไปและจัดการประชุมของสำนักงาน

3.2 งานเลขานุการของสำนักงาน

3.3 ควบคุมดูแลความปลอดภัย ชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม (SHE)

3.4 งานอาคารสถานที่

5. ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลกลุ่มภารกิจ  มีหน้าที่รับผิดชอบงานดังต่อไปนี้

1. HRBP – กลุ่มภารกิจกาชาดและงานสนับสนุนกลาง

2. HRBP – กลุ่มบริการทางการแพทย์

3. HRBP – กลุ่มบริการโลหิต อวัยวะ และผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ

โดยรับผิดชอบงาน ดังนี้

(1) งานบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMIS)

(2) การเลื่อนระดับ/ปรับตำแหน่งตามเกณฑ์ฯ และการเลื่อนระดับ/ปรับตำแหน่งที่สูงขึ้น ที่ไม่ใช่สายงานวิชาการ

(3) การขอเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข (พตส.)

(4) เงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรฯ โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว/เอกชน

(5) การขออนุมัติวันลาที่เป็นอำนาจอนุมัติของเลขาธิการสภากาชาดไทย

(6) ให้คำปรึกษา สนับสนุน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริหารและบุคลากร ในด้านทรัพยากรบุคคล

(7) ส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กร

(8) ดำเนินคำร้องและติดต่อประสานงานบริการด้านทรัพยากรบุคคล

(9) เป็นตัวกลางในการประสานงาน และควบคุมดูแลในเรื่องดังต่อไปนี้

(9.1) นโยบายด้านทรัพยากรบุคคล  

(9.2) กำหนดหลักเกณฑ์การหมุนเวียนงานสำหรับบุคลากรที่เป็น Talent

 

 

หมายเหตุ

1. * สำหรับคลัสเตอร์ 2 และ 3

2. ** ไม่รวมรพ.จุฬาฯ และรพ.สมเด็จฯ